วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ต้นเล็บทือนาง

                       ต้นเล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Quisqualis indica Linn.
วงศ์   Combreta Ceae

ชื่อท้องถิ่น  จะมัง จ๊ามั่ง มะจีมั่ง (ภาคเหนือ ไท้หม่อง (กระเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ภาพประกอบ>>
 
 

ลักษณะของพืช »
เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบรูปวีหรือรูปไข่
ปลายแหลม โคนใบมน ดอกเป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขมพู
มีกลิ่นหอม ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู
 
การปลูก »
ใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น เป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและ
มีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล
 
ส่วนที่ใช้เป็นยา »
เมล็ด
 
ช่วงเวลาที่เก็บยา »
เก็บเมล็ดที่สีเป็นสีน้ำตาล
 
รสและสรพรคุณยาไทย »
รสเอียน เบื่อเล็กน้อย ใช้ขับพยาธิและต้านทราง
 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
เมล็ดเล็บมือนาง จะประกอบด้วยน้ำมันและสาร Quisqualic acid เป็นกรดอมิโน และd-manitol พบว่ามีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ขับพยาธิ
และยังมีรายงานฤทธิ์ขับถ่ายอย่างแรงของน้ำมัน ในเมล็ดเล็บมือนาง ในประเทศจีนใช้เมล็ดเล็บมือนาง เป็นยาขับพยาธิมานาน และประเทศฟิลิปปินส์ก็เช่นเดียวกัน
 
วิธีใช้ »
เมล็ดเล็บมือนาง ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนสำหรับเด็กใช้ 2-3 เมล็ด
(หนัก 4-6 กรัม)ในผู้ใหญ่ใช้ 5-7 เมล็ด(หนัก 10-15 กรัม)ทุบพอแตก
ต้มเอาน้ำดื่มหรือหั่นทอดกับรับประทานก็ได้